ความเป็นมา /

ความเป็นมา

นิยามอุทยานวิทยาศาสตร์

     อุทยานวิทยาศาสตร์เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนการ พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ด้วยการสร้างนวัตกรรม ภายในอุทยานวิทยาศาสตร์มีมวลวิกฤต (Critical Mass) ของ บุคลากรและกิจกรรมวิจัยพัฒนาของเอกชน ตลอดจนบริการสนับสนุนเพื่อส่งเสริมและ รองรับกิจกรรมวิจัยพัฒนาดังกล่าว และมีพื้นที่ห้องปฏิบัติการและเครื่องมือ คุณภาพสูง สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อรองรับการดำเนินชีวิตและเพิ่มพูนผลิต ภาพของบุคลากรซึ่งทำางานอยู่ในอุทยานวิทยาศาสตร์
     อุทยานวิทยาศาสตร์มีการบริหารจัดการให้เกิดการเชื่อมโยงหน่วยงานวิจัย เอกชนสถาบันวิจัยของรัฐ และ/หรือ มหาวิทยาลัย เข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยง งานวิจัยกับความต้องการของตลาด ด้วยการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้และ เทคโนโลยี และการจับคู่ธุรกิจ นอกจากนี้ ภายในอุทยานวิทยาศาสตร์ยังมีการส่งเสริม ธุรกิจเทคโนโลยี โดยอาจผ่านกระบวนการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี (Technology Business Incubation) หรือกระบวนการจัดตั้งหน่วยงานใหม่แยกออกจากหน่วยงาน เดิม (spin-off) หรือกระบวนการอื่นๆ เพื่อทำให้เกิดธุรกิจซึ่งใช้นวัตกรรมเป็นฐาน เพิ่มขึ้นในประเทศอย่างต่อเนื่อง

ที่มา: ประยุกต์จากนิยามอุทยานวิทยาศาสตร์โดยสมาคมอุทยานวิทยาศาสตร์นานาชาติ 
International Association of Science Parks, IASP)

 อุทยานวิทยาศาสตร์ มทส. 
    การจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ในภูมิภาค เป็นกลยุทธ์ในการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปเหนี่ยวนำให้เกิดการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของชุมชน จากการใช้แรงงานไปเป็นการใช้ความรู้เป็นองค์ประกอบหลักในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ริเริ่มโครงการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) เป็นแกนนำร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัย 4 แห่ง คือมหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทั้งนี้ สวทช. มีประสบการณ์ในการจัดตั้งและบริหารอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ซึ่งเป็นอุทยานวิทยาศาสตร์ฯแห่งแรกของประเทศไทย   สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2547 เห็นชอบแผนกลยุทธ์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งเน้นวิสัยทัศน์ที่ให้ประเทศไทย เป็นสังคมความรู้ที่แข่งขันได้โดยมีสัดส่วนสถานที่ประกอบการที่มีนวัตกรรม เพิ่มขึ้นและมีสินค้าและบริการที่ใช้ความรู้มีมูลค่ามากกว่า 50% ของ GDP ตลอดจนการเพิ่มรายได้ คุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจให้แก่ท้องถิ่นนั้น
หนึ่งในกลยุทธ์ที่จะนำไปสู่เป้าหมายดังกล่าว คือการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของประเทศทั้งในด้านการพัฒนากำลังคน การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา รวมไปถึงการสนับสนุนให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้สู่ ภูมิภาคและระดับท้องถิ่น ทั้งนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการ
จัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ แล้วเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2546 และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะดำเนินการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคอื่นๆต่อไปสำหรับการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มอบหมายให้สำนักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดำเนินการ ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4แห่งคือมหาวิทยาลัยขอนแก่นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและมหาวิทยาลัยมหาสารคามร่วมกันจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้นเพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลข้างต้น